คำถามที่พบบ่อย 
คำถาม   พระนาม รัชกาลที่ ๑๐ หลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
คำตอบ  
ให้ขานพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัว"
และลงท้ายพระนามว่า "ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ"
 
คำถาม   หมายกำหนดการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
คำตอบ  



และค้นหา หมายกำหนดการแต่ละวัน ได้จาก http://phralan.in.th/coronation/hilightdetail.php?id=330

 
คำถาม   การเดินทางเข้าร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
คำตอบ  



ประชาชนสามารถเดินทางเข้าร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ได้โดยใช้บริการสาธารณะจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้บริการ
โดยมีการบริการทั้งทางรถยนต์ ทางเรือ ทางรถไฟ และทางรถไฟฟ้า ซึ่งสามารถค้นหารายละเอียดต่างๆ ได้จาก

http://phralan.in.th/coronation/route.php

 
คำถาม   จุดคัดกรองประชาชนเข้าในพื้นที่งานพระราชพิธีฯ มีที่ใดบ้าง เปิดให้เข้าได้ในวันใด เวลาใด
คำตอบ  

การเปิดจุดคัดกรอง เพื่อให้ประชาชน ที่ประสงค์เข้าร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เข้าในพื้นที่งานพระราชพิธีฯ
ระหว่างวันที่ ๒ - ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒

วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒

เปิดจุดคัดกรองเวลา ๑๔.๐๐ น.

จุดคัดกรองที่เปิด มีดังนี้ ๑. พระแม่ธรณี ๒. วงเวียน รด. ๓. ท่าช้าง ๔. สะพานช้างโรงสี ๕. ถนนพระจันทร์ ๖. แยกวังแดง ๗. สะพานชมัยมรุเชษฐ์ ๘. บ้านหม้อ(ปากคลอง) ๙. จักรเพชร

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒

เปิดจุดคัดกรองเวลา ๑๒.๐๐ น.

จุดคัดกรองที่เปิด มีดังนี้ ๑. พระแม่ธรณี ๒. สะพานช้างโรงสี ๓. วงเวียน รด. ๔. ท่าช้าง ๕. ถนนพระจันทร์

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒

เปิดจุดคัดกรองเวลา ๐๗.๐๐ น.

จุดคัดกรองที่เปิด มีดังนี้ ๑. พระแม่ธรณี ๒. สะพานช้างโรงสี ๓. วงเวียน รด. ๔. ท่าช้าง ๕. ถนนพระจันทร์

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒

เปิดจุดคัดกรองเวลา ๑๒.๐๐

เปิดทั้งหมด ๒๒ จุดคัดกรอง

๑. สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ฝั่งธน) ๒. ถนนหน้าพระธาตุ ๓. ท่าช้าง ๔. พระแม่ธรณีบีบมวยผม
๕. ถนนจักรพงษ์ (หน้าพิพิธภัณฑ์เหรียญ) ๖. ถนนข้าวสาร ๗. ถนนบูรณศาสตร์ ๘. ถนนตะนาวใต้
๙. ถนนบุญศิริ ๑๐. ถนนแพร่งนภา ๑๑. แยกบางลำพู ๑๒. ถนนประชาธิปไตย
๑๓. ถนนนครสวรรค์ ๑๔. ถนนหลานหลวง ๑๕. ถนนมหาไชย ๑๖. ถนนดินสอ
๑๗. ซอยดำรงรักษ์ ๑๘. แยกเสาชิงช้า ๑๙. แยกเฉลิมกรุง ๒๐. สน.พระราชวัง
๒๑. ท่าเตียน ๒๒. โรงเรียนราชินี

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒

เปิดจุดคัดกรองเวลา ๑๒.๐๐ น.

จุดคัดกรองที่เปิด มีดังนี้ ๑. พระแม่ธรณี ๒. สะพานช้างโรงสี ๓. สะพานมอญ ๔. สะพานเจริญรัช ๕. ท่าช้าง ๖. ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ๗. ในหน่วยกองบัญชาการรักษาดินแดน (รด.)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://phralan.in.th/coronation/routedetail.php?id=679

 
คำถาม   ประชาชนที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด สามารถพักค้างแรม ก่อนเข้าร่วมงานพระราชพิธี ได้ที่ใดบ้าง
คำตอบ  
กรุงเทพมหานคร ได้จัดเตรียมที่พักไว้ให้บริการแก่ประชาชนที่เดินทางมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค
โดยจัดสถานที่พัก พร้อมเครื่องนอน อาหาร และน้ำดื่มรองรับประชาชน จำนวน 1,500 คน/คืน ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง
ให้บริการระหว่างวันที่ 1-7 พฤษภาคม 2562 ผู้ประสงค์จะเข้าพักสามารถลงทะเบียนโดยตรงที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เป็นรายวัน 
สามารถเข้าพักได้ในเวลา 16.00 น และออกจากที่พักเวลา 09.00 น. ของทุกวัน สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2245-4743-7
 
 
คำถาม   ชาวต่างชาติ ต้องใช้เอกสารอะไรผ่านจุดคัดกรอง
คำตอบ  
ชาวต่างชาติสามารถเข้าร่วมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ฯ หรือชมริ้วขบวนได้
โดยนำพาสปอร์ต ผ่านเข้าจุดคัดกรอง
 
คนไทย บัตรประจำตัวประชาชน
 
ส่วนแรงงานต่างด้าว  บัตรแรงงานต่างด้าวสีชมพู
 
คำถาม   คำว่า ราชาภิเษก หมายความว่าอย่างไร
คำตอบ  

ราชาภิเษก มาจากคำว่า ราช [รา-ชะ] กับ อภิเษก หมายถึงพระราชพิธีในการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์
ตำราราชาภิเษกที่มีมาแต่โบราณกล่าวไว้ว่า ราชาภิเษกมีลักษณะ ๕ ประการ คือ
๑. มงคลอินทราภิเษก [มง-คน-อิน-ทฺรา-พิ-เสก]  ๒. มงคลโภคาภิเษก [มง-คน-โพ-คา-พิ-เสก]
๓. มงคลปราบดาภิเษก  ๔. มงคลราชาภิเษก และ ๕. มงคลอุภิเษก [มง-คน-อุ-พิ-เสก]  เรียกว่า ปัญจราชาภิเษก [ปัน-จะ-รา-ชา-พิ-เสก]
ในประเทศไทยเรา คำที่ได้ยินเสมอ ๆ คือ ราชาภิเษกและปราบดาภิเษก เช่น ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา มีข้อความเล่าถึงแผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ ตอนหนึ่งว่า
“มีพระราชโองการตรัสสั่งพระมหาราชครูพระครูบุริโสดมพรหมพฤฒาจารย์ [บุ-ริ-โส-ดม-พฺรม-พฺรึด-ทา-จาน] ให้จัดแจงการพระราชพิธีราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร”
และเล่าถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ตอนหนึ่งว่า “ถึงวันศุภวารดิถีพิชัยมงคลมหามหุติฤกษ์ [สุบ-พะ-วา-ระ-ดิ-ถี-พิ-ไช-มะ-หา-มะ-หุ-ติ-เริก] จึงกระทำการพิธีปราบดาภิเษก”
“มีพระราชโองการตรัสสั่งพระมหาราชครูพระครูบุริโสดมพรหมพฤฒาจารย์ [บุ-ริ-โส-ดม-พฺรม-พฺรึด-ทา-จาน] ให้จัดแจงการพระราชพิธีราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร”
และเล่าถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ตอนหนึ่งว่า “ถึงวันศุภวารดิถีพิชัยมงคลมหามหุติฤกษ์ [สุบ-พะ-วา-ระ-ดิ-ถี-พิ-ไช-มะ-หา-มะ-หุ-ติ-เริก] จึงกระทำการพิธีปราบดาภิเษก”

 
คำถาม   ประดับตราสัญลักษณ์ พร้อมธงชาติและธงตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ตามอาคารบ้านเรือน ส่วนราชการ และหน่วยงานต่าง ๆ
คำตอบ  

การประดับตราสัญลักษณ์ พร้อมธงชาติและธงตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
ตามอาคารบ้านเรือน ส่วนราชการ และหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓

 
คำถาม   การใช้ถ้อยคำถวายพระพรชัยมงคล ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
คำตอบ  

ตัวอย่างการใช้ถ้อยคำถวายพระพรชัยมงคล ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
สามารถค้นหาได้จาก http://phralan.in.th/coronation/hilightdetail.php?id=336

 

 
คำถาม   ต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับจิตอาสาเฉพาะกิจ ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
คำตอบ  
สอบถามที่ ศอญ. ๙๐๔
หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒-๑๖๓-๔๖๔๐
 

Close menu