ดาวน์โหลด 

สารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 17 การจัดรูปขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

การจัดรูปขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในอดีต จัดเป็นขบวนแบบเต็มรูปยิ่งใหญ่ คือ “ขบวนเพชรพวง” ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจัดริ้วขบวนเป็น 4 สาย
และมีสายพระราชยานอยู่ตอนกลาง 1 สาย สายในซ้ายขวาเป็น ริ้วเรือแห่ เรียกว่า สายคู่แห่ สายนอกซ้ายขวาเป็นริ้วเรือกัน เรียกว่า สายกัน  ส่วนระเบียบการจัดขบวนแบ่งเป็น 5 ตอน ประกอบด้วย
ตอนหน้า คือ ขบวนนอกหน้า ได้แก่ ทหารกองนอก ถัดไปเรียกว่า ขบวนในหน้า ได้แก่ ทหารรักษาพระองค์ ตอนกลางเป็นขบวนเรือพระราชยาน
ตอนหลังในเรียก ขบวนในหลัง ได้แก่ กองทหารรักษาพระองค์ ส่วนตอนหลังชั้นนอก เรียกว่า ขบวนนอกหลัง ได้แก่ ทหารกองนอกทั้ง 5 ตอนนี้มีประตูคั่นทุกตอน
สมัยต่อมาการจัดขบวนเรือโบราณแบบขบวนเพชรพวง หมดไปพร้อมๆ กับเรือรบโบราณกลายเป็นเรือพระราชพิธี แต่การจัดรูปขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ได้ดัดแปลงจากแบบแผนโบราณ
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จอมพลเรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ทรงวางหลักเกณฑ์การจัดริ้วขบวนเรือพระราชพิธีสำหรับเสด็จการพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ไว้ 5 แบบ คือ ขบวนพยุหยาตราใหญ่ ใช้ในโอกาสถวายผ้าพระกฐิน
หรือโอกาสการเสด็จเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ขบวนพยุหยาตราน้อย ใช้ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน  ขบวนเรือราบใหญ่
ใช้ในพระราชพิธีเสด็จไปถวายผ้าพระกฐินที่ไม่ใหญ่โตนัก ขบวนราบน้อย ใช้ในโอกาสเดียวกับขบวนราบใหญ่แต่จัดขบวนเรือเป็น 2 สาย และขบวนราบย่อ
เป็นการจัดขบวนรับช่วงต่อในเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินไปในลำคลองที่คับแคบ

ไฟล์แนบ
  

จำนวนการเข้าชม 1,306 ครั้ง