คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 

การเห่เรือ

การเห่เรือ

การเห่เรือของไทยปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่า
เดิมการเห่เรือน่าจะมีที่มาจากการให้จังหวะเพื่อให้การพายเรือเป็นไปอย่างพร้อมเพรียง
ต่อมาจึงค่อย ๆ พัฒนาเป็นทำนองที่ชัดเจน ประกอบด้วย
๑. ช้าลวะเห่ [ช้า-ละ-วะ-เห่] เป็นการเห่ที่มีการเอื้อนเป็นทำนองช้า ๆ ใช้ในการเห่เรือเมื่อพายเรือ ตามน้ำซึ่งไม่ต้องการจังหวะที่รวดเร็วมากนัก
๒. มูลเห่ [มูน-ละ-เห่] เป็นการเห่ที่มีทำนองเร็วกว่าช้าลวะเห่ ใช้ในการเห่เรือเมื่อพายเรือทวนน้ำ ซึ่งต้องการจังหวะฝีพายที่รวดเร็ว
๓. สวะเห่ [สะ-วะ-เห่] เป็นการเห่ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมีความเก่าแก่ที่สุด ใช้ในการเห่เมื่อเรือพระที่นั่งจะเข้าเทียบท่า
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

จำนวนการเข้าชม 55,507 ครั้ง  

Close menu