พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท
พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท
พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท [พฺระ-ที่-นั่ง-สุด-ไท-สะ-หฺวัน-ปฺรา-สาด] รัชกาลที่ ๑ โปรดให้สร้างขึ้นเป็นพลับพลาโถงจัตุรมุข หลังคาไม่มียอด สร้างด้วยเครื่องไม้
เรียกกันว่า “พระที่นั่งพลับพลาสูง” สำหรับประทับทอดพระเนตรกระบวนแห่ในพระราชพิธีสรงสนานใหญ่ [สง-สะ-หฺนาน-ไหฺย่] คือ พิธีสวนสนามของจตุรงคเสนา [จะ-ตุ-รง-คะ-เส-นา]
มีกระบวนคนเดินเท้า กระบวนช้าง กระบวนม้า และกระบวนรถ
รัชกาลที่ ๓ โปรดให้รื้อพระที่นั่งพลับพลาสูง สร้างใหม่เป็นพระที่นั่งก่ออิฐถือปูน พระราชทานนามว่า พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ [พฺระ-ที่-นั่ง-สุด-ทา-สะ-หฺวัน]
ใน พ.ศ. ๒๓๙๖ รัชกาลที่ ๔ โปรดให้เปลี่ยนนามเป็นพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท [พฺระ-ที่-นั่ง-สุด-ไท-สะ-หฺวัน-ปฺรา-สาด]
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ โปรดให้เป็นพลับพลาพระราชพิธี เช่น สวดมนต์เลี้ยงพระ และจุดโคมชัยบูชาพระบรมสารีริกธาตุในพระราชพิธีจองเปรียง [จอง-เปฺรียง]
รัชกาลที่ ๓ โปรดให้รื้อพระที่นั่งพลับพ
ใน พ.ศ. ๒๓๙๖ รัชกาลที่ ๔ โปรดให้เปลี่ยนนามเป็นพระที
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ โปรดให้เป็นพลับพลาพระราชพิ
จัดเป็นที่สำหรับพระสงฆ์รามัญสวดมนต์ฉลองไตรในการพระราชกุศลฉลองไตรปีเป็นต้น และในสมัยรัชกาลที่ ๙ ได้เสด็จออกให้ประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก [บอ-รม-มะ-รา-ชา-พิ-เสก]
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------