คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 

เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ (๒)

เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ (๒)

เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ในแต่ละสมัยแตกต่างกันบ้าง สมัยอยุธยานั้นหนังสือปัญจราชาภิเษก [ปัน-จะ-รา-ชา-พิ-เสก]
มีข้อความว่า “ลักษณะเครื่องสำหรับราชาภิเษกของสมเด็จพระมหากษัตริย์นั้น คือพระมหามงกุฏ ๑ พระภูษาผ้ารัตตกัมพล [ผ้า-รัด-ตะ-กำ-พน] ๑ พระขรรค์ ๑ พระเศวตฉัตร ๑ เกือกทองประดับแก้วฉลองพระบาท ๑”

ครั้นสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑ พงศาวดารฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี [เจ้า-พฺระ-ยา-ทิ-พา-กอ-ระ-วง-มะ-หา-โก-สา-ทิบ-บอ-ดี] ีข้อความว่า
“เบญจราชกกุธภัณฑ์ คือ พระมหามงกุฎ พระแสงขรรค์ ธารพระกร พระพัดวาลวิชนี ฉลองพระบาท”
คือเปลี่ยนจากผ้ารัตกัมพล [รัด-ตะ-กำ-พน] และเศวตฉัตรเป็นธารพระกรและพัดวาลวิชนี [พัด-วา-ละ-วิด-ชะ-นี]
สมัยรัชกาลที่ ๒ ไม่มีพระมหามงกุฎและฉลองพระบาท แต่มีเศวตฉัตรและพระแสงดาบ
สมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๙ เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ได้แก่ พระมหามงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี [พฺระ-แสง-ขัน-ไช-สี] ธารพระกร
วาลวิชนี [วา-ละ-วิด-ชะ-นี] (พัชนีกับพระแส้จามรี) และฉลองพระบาท คือกลับไปเหมือนสมัยรัชกาลที่ ๑

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

จำนวนการเข้าชม 2,386 ครั้ง