ดาวน์โหลด 

สารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 36 เรือครุฑเหินเห็จ และเรือครุฑเตร็จไตรจักร

เรือครุฑเหินเห็จ และเรือครุฑเตร็จไตรจักร เป็นเรือรูปสัตว์ประเภทเรือเหล่าแสนยากร ชื่อเรือทั้ง ลำนี้ สะท้อนถึงอิทธิพลคัมภีร์ปุราณะของอินเดียที่มีต่อคตินิยมและศิลปกรรมไทย
ครุฑเป็นเจ้าแห่งนกทั้หลาย หรือเทพปักษิณ เป็นพาหนะของพระวิษณุ กล่าวกันว่า ครุฑสามารถแปลงกลายให้เป็นรูปร่างต่างๆ ไปได้ในทุกหนแห่งตามความปรารถนา ครุฑเป็นศัตรูกับนาคหรืองู
เนื่องจากมารดาทั้งสองฝ่ายวิวาทกัน ดังนั้นศิลปกรรมของศาสนาฮินดู และพุทธศาสนาจึงเห็นลวดลายในท่าครุฑจับนาค ที่เรียกกันว่า ครุฑยุดนาค เรือทั้งสองลำนี้ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2
ระเบิดจากอากาศยานที่ถล่มกรุงเทพมหานครได้สร้างความเสียหายให้กับเรือดังกล่าว กรมศิลปากรจึงตัดหัวโขนเรือ และท้ายเรือมาเก็บรักษาไว้และทำการสร้างใหม่เมื่อปีพุทธศักราช 2511 โดยใช้หัวโขนเรือเดิมนำมาซ่อมแซม
โขนเรือทั้งสองลำเป็นไม้จำหลักรูปครุฑยุดนาค 2 ตัวชูขึ้น เรือครุฑเหินเห็จประดับเครื่องทรง ทั้งโขนเรือ และท้ายเรือ โขนเรือครุฑเหินเห็จมีกายสีแดง สวมมงกุฎลักษณะยอดชัยสีทอง เขียนลายเส้นฮ่อทั้งที่ใบหน้า ลำตัว
และส่วนขาเป็นสีดำ น้ำตาล ชมพู และสีทอง ปีกสยายเหมือนกำลังบิน ส่วนที่เท้าทั้งสองข้างจับนาคอยู่เช่นกัน ลงรักปิดทองประดับกระจกสีเขียว ภายในเรือทาสีแดง ส่วนภายนอกทาสีดำ เขียนด้วยลายรดน้ำ ลายดอกพุดตานก้านต่อดอก
ส่วนหัวโขนเรือครุฑเตร็จไตรจักร เนื่องจากมีสีกายเป็นสีชมพูอ่อนหรือสีหงส์ดิน จึงเขียนเส้นฮ่อใบหน้า และลำตัวด้วยสีน้ำตาล สีแดง และใช้สีขาวแทนสีชมพู ปิดทับด้วยทองคำเปลว
ด้านล่าง มีช่องสำหรับใส่ปืนใหญ่ เรือทั้ง 2 ลำมียาว 28.58 เมตร กว้าง 2.10 เมตร ความลึกถึงท้องเรือ 0.56 เมตร มีกำลังพลประจำเรือลำละ 41 นาย ประกอบด้วย นายเรือ 1 นาย นายท้าย 2 นาย ฝีพาย 34 นาย
คนถือธงท้าย 1 นาย พลสัญญาณ 1 นาย คนกระทุ้งเส้าให้จังหวะ 2 นาย

ไฟล์แนบ
  

จำนวนการเข้าชม 1,123 ครั้ง