ดาวน์โหลด 

สารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 16 ชนิดของเรือในริ้วขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

หากกล่าวถึงชนิดของเรือในริ้วขบวนพยุหยาตราทางชลมารคสามารถแบ่งได้ 14 ชนิด ได้แก่ เรือแซ มีรูปร่างเป็นเรือชัยโกลน หัวท้ายเขียนลายน้ำยาใช้เป็นเรือพิฆาต เช่น เรือเสือทยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์
เรือกราบ เป็นเรือขุดชนิดหนึ่ง รูปร่างเพรียวยาว หัวและท้ายเรียวเชิดเสริมกราบ หรือไม้ที่เสริมข้างตัวเรือให้สูงขึ้นตลอดความยาวของแคมเรือ มีกระทงวางขวางสำหรับฝีพายนั่งใช้ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
เรือกิ่ง หัวเรือมีลวดลายสวยงาม ใช้เป็นเรือพระที่นั่งทรง หรือ เรือทรงผ้าไตร ทรงพระพุทธรูป ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารคถวายผ้าพระกฐิน  เรือศรี ที่เรียกว่าเรือศรี  เป็นเพราะสีผ้าหลังคากัญญา และมีการเขียนลายที่หัวเรือ
แต่ลำเรือลงรักเขียนเป็นลายรดน้ำปิดทองเป็นเรือพระที่นั่งของพระเจ้าแผ่นดิน เรือโขน เป็นเรือหลวงที่หัวท้ายมีไม้ทับ และไม้ขวางเนื้อต่อเข้ากัน เรือกัญญา คือ เรือที่ทำกัญญาเป็นรูปเหมือนหลังคาเรือน เรือนำ คือ เรือสำหรับนำเสด็จ
เรือบัลลังก์ คือ เรือใส่บัลลังก์ตั้งกลาง มีกัญญาทำเป็นเหมือนแท่น มีจมูกสิงห์ เรือ ม่าน คือเรือโขนมีกัญญา เป็นเรือหลวงผูกม่านสำหรับฝ่ายใน  เรือยาว คือเรือโขนยาวตั้งแต่ 7 วาขึ้นไป มีแคร่ มีกัญญา เป็นเรือสำคัญยศ
และเรือเร็ว คือ เรือเพรียว เป็นเรือโขนยาวใช้สำหรับไปราชการงานด้านสืบข่าว  เรือชัย หรือ เรือเอกชัย คือ เรือกิ่ง เดิมไม่มีกิ่งทั้งหัวและท้ายเรือ จึงเรียกเรือเอกชัย เมื่อทำกิ่งใส่เข้าไป จึงเรียกเรือที่นั่งกิ่ง เดิมเป็นเรือสำหรับข้าราชการนั่งในริ้วขบวน
และมีเจ้าพนักงานคอยกระทุ้งเส้าให้จังหวะ แต่ถ้าเป็นเรือที่นั่งเจ้านายและเป็นเรือประตู เรียกว่า เรือเอกชัย และเรือโขมดยา คำว่า โขมด แปลว่า หัว ยา หมายถึง น้ำที่เขียนหัว รูปร่างอย่างเรือดั้ง
ในขบวนพยุหยาตราเป็นเรือไชยที่หัวเขียนด้วยลายน้ำยา หัวท้ายงอนคล้ายเรือกัญญา เรือหัวเขียนลายยาใช้เป็นเรือประจำยศพระราชาคณะ

ไฟล์แนบ
  

จำนวนการเข้าชม 1,462 ครั้ง