ดาวน์โหลด 

สารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 15 เรือเหล่าแสนยากร

เรือเหล่าแสนยากร เป็นเรือประเภทต่างๆที่นำมาจัดเข้าในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค นอกเหนือจากเรือพระที่นั่งทรง เรือพระที่นั่งรอง มีรูปร่างและหน้าที่แตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งาน แกะสลักลวดลายไม้จำหลักโขนอย่างวิจิตร
แบ่งเป็น 12 ประเภท ได้แก่  เรือพิฆาต คือเรือรบไทยโบราณ หัวเรือเจาะช่องขนาดใหญ่สำหรับวางปืนใหญ่ประเภทปืนจ่ารง ในสมัยรัชกาลที่ 1ใช้ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารคจำนวน 6 คู่ 12 ลำ
จนมาถึงรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมาคงเหลือเพียง 1 คู่ คือ เรือเสือทยานชล และ เสือคำรณสินธุ์  เรือแซ เป็นเรือลำเลียงอาหารและอาวุธ เรือไชย คือเรือมีทวนหัวตั้งสูงขึ้นเป็นงอนเดิมเป็นเรือข้าราชการนั่งในริ้วขบวน
และมีเจ้าพนักงานคอยกระทุ้งเส้าให้จังหวะ เรือรูปสัตว์ หรือ เรือศรีษะสัตว์ ที่โขนเรือแกะสลักลวดลายเป็นรูปสัตว์ที่มีอยู่จริง และในเทพนิยายลงรักปิดทองสวยงาม เรือประตู ทำหน้าที่คุ้มครองดูแลขบวนเรือพระที่นั่งจัดตามตำแหน่งเป็นชั้นๆ เรือกัน
เป็นเรือดั้งสำหรับป้องกันภัย เรือดั้ง ทำหน้าที่ป้องกันหน้าขบวนเรือ ดั้ง แปลว่า หน้า ดังนั้นเรือดั้ง จึงเป็นเรือหน้า เป็นเรือไม้ขัดเกลี้ยงไม่มีลวดลายจำหลัก ทาสีน้ำมัน หรือยางไม้ตลอดทั้งลำเรือใช้เป็นเรือขบวนสายนอก
เรือคู่ชัก เป็นเรือไชย หรือเรือรูปสัตว์ทำหน้าที่ชักลากจูงเรือพระที่นั่งเมื่อมีความจำเป็น เรือแซง คือเรือที่อยู่ปิดท้ายขบวนเรือ  พระราชยานอยู่นอกสุดของขบวน เรือตำรวจ ทำหน้าที่เป็นองค์รักษ์ เรือกลอง
เป็นเรือสัญญาณที่คอยให้จังหวะด้วยเสียงแก่เรือพระราชพิธีลำอื่นๆ ต่อมาแตรฝรั่งเข้ามาจึงยกเลิกการใช้กลองบอกสัญญาณ แต่ยังคงเรือกลองไว้ในขบวนเพื่อรักษาขนบธรรมเนียม และเรื้อริ้ว
คือเรือที่อยู่ในริ้วขบวนตามกันไปในขบวนเป็นเส้นเป็นสายหลายสายเรียงขนานกัน 

ไฟล์แนบ
  

จำนวนการเข้าชม 1,972 ครั้ง