คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 

เรือพระที่นั่งรอง

เรือพระที่นั่งรอง

เรือพระที่นั่งรอง หมายถึงเรือพระที่นั่งซึ่งเตรียมไว้สำรองแทนเรือพระที่นั่งลำทรงหากชำรุดในการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคต้องจัดเรือพระที่นั่งรอง
เข้าในขบวนเสด็จพระราชดำเนินด้วย โดยจัดไว้ในตำแหน่งหลังเรือพระที่นั่งลำทรงเสมอ ดังปรากฏหลักฐานว่า ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดลำดับขบวนพระราชยาน โดยเรียงจากเรือพระที่นั่งกิ่งซึ่งเป็น เรือพระที่นั่งดั้ง (เรือหน้า) จำนวน ๕ ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งชลพิมานชัย [ชน-พิ-มาน-ไช] เป็นดั้งที่ ๑
เรือพระที่นั่งไกรสรมาศ [ไกฺร-สอ-ระ-มาด] เป็นดั้งที่ ๒ เรือพระที่นั่งศรีพิมานชัย [สี-พิ-มาน-ไช] เป็นดั้งที่ ๓ เรือพระที่นั่งไกรแก้วจักรรัตน์ [ไกฺร-แก้ว-จัก-กฺระ-รัด] เป็นเป็นดั้งที่ ๔
เรือพระที่นั่งศรพรหมชัย [สอน-พฺรม-ไช] เป็นดั้งที่ ๕ ถัดมาเป็นเรือพระที่นั่งศรีสมรรถชัย [สี-สะ-หฺมัด-ถะ-ไช] เป็นเรือพระที่นั่งลำทรง
และเรือพระที่นั่งไกรสรมุข [ไกฺร-สอ-ระ-มุก] เป็นเรือพระที่นั่งรอง  นอกจากนี้ ยังมีเรือพระที่นั่งกิ่งอีกคู่หนึ่ง
อยู่สายในเป็นเรือสำรองคือ เรือพระที่นั่งศรีสุนทรชัย [สี-สุน-ทอน-ไช] และเรือพระที่นั่งไกรสรจักร [ไกฺร-สอ-ระ-จัก]
ปัจจุบันเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เป็นเรือพระที่นั่งลำทรง ส่วนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ ใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

จำนวนการเข้าชม 3,693 ครั้ง