คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 

ภาณวาร

ภาณวาร
[พาน-นะ-วาน]

          คำว่า ภาณวาร [พาน-นะ-วาน] ประกอบด้วยคำว่า ภาณ [พา-นะ] ในภาษาบาลี ซึ่งแปลว่า การสวด การกล่าว
และคำว่า วาร [วาน] มาจากคำภาษาบาลีและสันสกฤต วาร [วา-ระ] แปลว่า คราว ครั้ง วัน คำว่า “ภาณวาร” จึงแปลว่า คราวแห่งการสวด วาระแห่งการสวด ใช้เรียกข้อความในคัมภีร์ต่าง ๆ
เช่น ในพระสูตรสำหรับสาธยายเป็นคราว ๆ กำหนดเป็นตอน ๆ เรียกรวมว่า จตุภาณวาร [จะ-ตุ-พาน-นะ-วาน] คือ มี ๔ ภาณวาร มีการสวดภาณวารในพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี [เจ้า-พฺระ-ยา-ทิ-พา-กอ-ระ-วง-มะ-หา-โก-สา-ทิ-บอ-ดี] มีข้อความว่า
“เสด็จขึ้นในพระมหามณเฑียรที่ห้องพระบรรทม ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการ แล้วสรวม [สวม] พระมหามงคล ซึ่งสอดด้วยสายสิญจน์สูตร ทรงสดับพระราชาคณะสงฆ์สมถะ ๕ รูป
สวดพระจัตุภาณวาร [จัด-ตุ-พาน-นะ-วาน] จบพระตำนานแล้ว ประโคมแตรสังข์ฆ้องไชยกังสดาลดุริยดนตรีมโหรีพิณพาทย์”

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

จำนวนการเข้าชม 3,196 ครั้ง